สร้างภาพเคลื่อนไหวและเสียงดนตรี

                    7.3.1 การสร้างโปรเจกต์เพื่อให้มีการเปลี่ยนภาพฉาก (Backdrops) ของเวที (Stage) ได้หลายภาพ สามารถเขียนสคริปต์ให้ตัวละครหรือฉากแยกส่วนกัน เพื่อสั่งงานให้เกิดเหตุการณ์ที่ต่างกัน แต่แสดงผลการทำงานไปพร้อมๆ กัน ซึ่งบล็อกที่ใช้มีดังต่อไปนี้
                                         1. การเพิ่ม ลบตัวละคร
   1. วิธีที่ 1 คลิกเครื่องมือ  (Delete)
   2. หรือ วิธีที่ 2 คลิกขวาที่ตัวละคร

   3. คลิกคำสั่ง delete     


2. การเพิ่มตัวละคร (Sprite) จากไฟล์ภาพ ดังนี้
    1. คลิกที่ไอคอน (Choose sprite from library) จะปรากฏหน้าต่าง Sprite                                                       Library ดังรูป
    2. คลิก Category : Animals
    3. เลือกชุดตัวละคร (Sprite)
    4. คลิกปุ่ม ok


                           3.การส่งออกตัวละคร
  1. คลิกขวาที่ตัวละคร
  2. เลือกคำสั่ง Save to local file
            3. คลิกเลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการจัดเก็บ Documents / Scratch Projects
                                            4. คลิกปุ่ม open
                                            5. ตั้งชื่อไฟล์ตัวละคร
   6. คลิกปุ่ม save



                                           4.การเพิ่มตัวละคร
   1.    คลิกไอคอน New sprite : Upload sprite from file
   2.     เลือกโฟลเดอร์ที่ได้เก็บบันทึกไว้ Documents/Scratch Projects
   3.     เลือกไฟล์ตัวละคร
                                                  4.   คลิกปุ่ม open

                                         5. การเพิ่มตัวละครแบบวาดขึ้นเอง
                                                  1. คลิกไอคอน New sprite : Paint new sprite
2. ปรากฏหน้าต่างของแท็บ Costumes ตัวอย่างเป็นการสร้างตัวละครใหม่     เป็นรูปหอยทาก
3. เมนูเครื่องมือในการวาด
                                                    4. กล่องสี  

                                            6. การเพิ่มชุดตัวละคร
1. คลิกขวาที่รูปภาพ costume1 เลือกคำสั่ง duplicate เพื่อสร้างชุดตัว                                                           ละครใหม่เหมือนกับชุดตัวละคร costume1
2. คลิกรูปภาพ costume2 เพื่อแก้ไขชุดตัวละคร
3. คลิกเครื่องมือ (Grow) เพื่อขยายขนาดรูปภาพเพื่อปรับแก้ชุดตัวละคร


7.3.2 พิกัดและทิศทาง
                                       การทำให้ตัวละคร (Sprite) สามารถเคลื่อนที่ไปได้ในทิศทางต่างๆ สามารถเขียนสคริปต์ให้ตัวละคร เพื่อให้การแสดงผลการเคลื่อนที่ของตัวละครมีลักษณะเป็นธรรมชาติมากที่สุด ซึ่งบล็อกที่ใช้มีดังต่อไปนี้
  
กลุ่มบล็อก Motion เพื่อให้ตัวละครเคลื่อนที่ไปในทิศทางต่างๆ

การกำหนดทิศทางและตำแหน่งการเคลื่อนที่ของตัวละคร
เส้นสีน้ำเงินเป็นตัวกำหนดทิศทางการเคลื่อนที่ของตัวละคร ในภาพแมวมีทิศทางการเคลื่อนที่ 108 องศา ทิศทางการเคลื่อนที่ที่ระบุในโปรแกรม Scratch เช่น

0 องศาจะมีทิศทางการเคลื่อนที่ไปด้านบน
90 องศาจะมีทิศทางการเคลื่อนที่ไปทางขวา
-90 องศาจะมีทิศทางการเคลื่อนที่ไปทางซ้าย
180, -180 องศาจะมีทิศทางการเคลื่อนที่ไปด้านล่าง

7.3.3 โน้ตดนตรี
โครงสร้างของคีย์บอร์ดในเปียโนจะแบ่งเป็นกลุ่มคีย์ออกเป็นกลุ่มๆ แต่ละกลุ่มประกอบด้วยกลุ่มที่มีคีย์สีขาว 7 ตัว (C-โด D-เร E-มี F-ฟา G-ซอล A-ลา B-ที) และคีย์สีดำ 5 ตัว (C#, Eb,F#, G#, Bb) เสียงดนตรีในกลุ่มคีย์สีขาวทั้ง 7 เสียงนั้น ถือเป็นระดับเสียงตามธรรมชาติของมนุษย์ซึ่งระดับเสียงจะห่างกัน 1 เสียงเต็ม ส่วนเสียงดนตรีในกลุ่มคีย์สีดำไม่ใช่เสียงเต็มแบบธรรมชาติจึงต้องมีการสร้างสัญลักษณ์เพื่อทำให้โน้ตนั้นมีระดับเสียงสูงขึ้นหรือต่ำลงครึ่งเสียงและสัญลักษณ์ดังกล่าวก็คือเครื่องหมายชาร์ฟ (#) และแฟล็ท (b)ในโปรแกรม Scratch ใช้บล็อก play note ระบุตัวเลขเพื่อแทนระดับเสียงดนตรี

ดังตัวอย่างในตาราง


-  เครื่องหมาย ชาร์ฟ (Sharp: #) เมื่อปรากฎที่โน้ตตัวใดจะทำให้โน้ตนั้นมีระดับเสียงสูงขึ้นครึ่งเสียงเช่น C# อ่านว่า ซี-ชาร์ฟ จะมีระดับเสียงสูงกว่า C (โด) อยู่ครึ่งเสียง ซึ่งใน Scratch จะเป็นการเพิ่มค่าตัวเลข 1 ค่า ตัวอย่างเช่น มีค่าตัวเลขในบล็อก play note เป็น 48 C# จะมีค่าเป็น 49
เครื่องหมาย แฟล็ท (Flat: b) ตรงกันข้ามกับ เมื่อปรากฎที่โน้ตตัวใด จะทำให้โน้ตนั้นมีระดับเสียงต่ำลงครึ่งเสียง เช่น Eb อ่านว่า อี-แฟล็ท จะมีระดับเสียงต่ำกว่า E (มี) อยู่ครึ่งเสียง ซึ่งใน Scratch จะเป็นการเพิ่มค่าตัวเลข 1 ค่า ตัวอย่างเช่น มีค่าตัวเลขในบล็อก play note เป็น 52 Eb จะมีค่าเป็น 51

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น